Data Governance คืออะไร ??

What is Data Governance…

     Data Governance หรือ การธรรมาภิบาลข้อมูล คือแนวคิดและกระบวนการสำหรับการจัดการข้อมูลสำหรับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นหลัก โดยเชื่อว่าข้อมูลนั้นเป็นทรัพย์สินที่มีค่าอย่างหนึ่งสำหรับองค์กรหรือที่มักเรียกกันว่า Data as an Asset  ดังนั้นเขาจึงมองว่าจะต้องมีวิธีบริหารจัดการอย่างไรเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและปลอดภัย เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร โดยมีการกำหนยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่างมีระบบ ดังนี้

  • คุณภาพข้อมูล (Data quality) – สร้างความมั่นใจว่าข้อมูลถูกต้องสอดคล้องและปราศจาก “สิ่งรบกวน” ที่อาจขัดขวางการใช้งานและการวิเคราะห์
  • ความพร้อมใช้งานของข้อมูล (Data availability) – ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลทางธุรกิจพร้อมใช้งาน เป็นปัจจุบันและใช้งานง่ายโดยใช้ฟังก์ชันทางธุรกิจที่ต้องการ
  • การใช้งานข้อมูล (Data usability) – สร้างความมั่นใจว่าข้อมูลมีโครงสร้างชัดเจน จัดทำเอกสารและติดป้ายกำกับช่วยให้ค้นหา การดึงข้อมูลทำได้ง่าย และเข้ากันได้กับเครื่องมือที่ใช้โดยผู้ใช้ทางธุรกิจ
  • ความถูกต้องของข้อมูล (Data integrity) – สร้างความมั่นใจว่าข้อมูลจะยังคงมีคุณสมบัติที่จำเป็นแม้ว่าจะจัดเก็บ แปลง ถ่ายโอนหรือดูข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ
  • ความปลอดภัยของข้อมูล – สร้างความมั่นใจว่าข้อมูลถูกจัดประเภทตามความอ่อนไหวและกำหนดกระบวนการเพื่อปกป้องข้อมูลและป้องกันการสูญหายของข้อมูลและการรั่วไหล

     Data Governance Frameworks หรือ กรอบธรรมาภิบาลข้อมูล เป็นโครงสร้างที่ช่วยให้องค์กรกำหนดความรับผิดชอบการตัดสินใจและดำเนินการกับข้อมูลองค์กร

ทั้งนี้ การพูดถึงประเด็นทั้งหมดจำเป็นต้องมีการผสมผสานระหว่างทักษะคน กระบวนการภายในและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

 

Data Governance for Government

    Data Governance for Government หรือ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ คือ การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูลทุกขั้นตอน เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคลและสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศ

    ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ถูกจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูล กล่าวคือ บุคคลที่ได้รับบทบาทในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จะมีหน้าที่ในการกำหนดขอบเขต กฎเกณฑ์ และนโยบายข้อมูลที่ใช้ในกระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ตั้งแต่การสร้าง การจัดเก็บ การประมวลผล การใช้ การเผยแพร่ จนถึงการทำลาย โดยกฎเกณฑ์และนโยบายข้อมูลต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละหน่วยงาน การวัดผลการดำเนินการช่วยให้เห็นระดับการดำเนินการของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการหรือคุณภาพของข้อมูล

ข้อมูล (Data)

     ข้อมูล คือ “ข้อเท็จจริงซึ่งใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการอธิบายเหตุผล การสนทนา หรือการคำนวณ”

ประเภทข้อมูล (Types of Data)

  • ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data) เป็นข้อมูลที่มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูลไว้ โดยนิยามความหมายและคุณสมบัติของแต่ละฟิลด์ข้อมูล โครงสร้างมีชั้นเดียวทำให้ง่ายต่อการค้นหา เช่น ตารางข้อมูลในฐานข้อมูล Comma-Separated Values – CSV
  • ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Data) เป็นข้อมูลที่มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูลไว้ แต่ โครงสร้างเป็นแบบลำดับขั้น (Hierarchy) เช่น Extensible Markup Language – XML JavaScript Object Notation – JSON
  • ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการนิยามโครงสร้างของข้อมูลไว้ มักจะอยู่ในรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์

ชุดข้อมูล (Datasets)

  • ชุดข้อมูล คือ “ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้ โดยปกติอยู่ในรูปแบบของตารางข้อมูล” ซึ่งการรวบรวมข้อมูลนี้มาจากหลายแหล่ง และนำข้อมูลมาจัดเป็นชุดให้ถูกต้องตามลักษณะโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้

ฐานข้อมูล (Database)

  • ฐานข้อมูล คือ “กลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันได้ถูกรวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยงาน” หรือกล่าวได้ว่า แต่ละฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลาย ๆ ชุดข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน

 

การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management)

    การบริหารจัดการข้อมูล คือ “คำจำกัดความที่อธิบายถึงกระบวนการที่ใช้ในการวางแผน (Plan) ระบุ (Specify) เปิดใช้งาน (Enable) สร้าง (Create) รับ (Acquire) ดูแลรักษา (Maintain) ใช้ (Use) จัดเก็บถาวร (Archive) ดึงข้อมูล (Retrieve) ควบคุม (Control) และทำลายข้อมูล (Purge)” (Cupola et al., 2014)

    ในการบริหารจัดการข้อมูลนั้น มีองค์ประกอบในการบริหารจัดการตลอดทั้งระบบบริหารและกระบวนการจัดการข้อมูล หรือวงจรชีวิตของข้อมูล ดังรูป


อ้างอิงจาก :

  • เว็บไซต์ Imperva  (https://www.imperva.com/learn/data-security/data-governance/)
  • เว็บไซต์ Softnix  (https://www.softnix.co.th/2018/09/02/data-governance-คืออะไร-ทำไมจึงสำคัญต/)
  • เว็บไซต์ DGA  (https://www.dga.or.th/th/profile/2161/)